วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สัญลักษณ์ในพระกรพระพิฆเนศ Sacred Symbols Load Ganesh

สัญลักษณ์ในพระกรของพระพิฆเนศ


สัญลักษณ์ต่างๆ ของพระพิฆเนศ
             วิตรรกมุทรา (Vitarka mudra) หรือท่าของการแสดงธรรม รวมทั้งดอกไม้สีแดงและสีเหลือง มีความเกี่ยวข้องกับพระพิฆเนศ

             ในความหมายของ "ช้าง" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความฉลาด และความสง่างาม ในอดีตช้างเป็นสัตว์ที่ใช้เลือกผู้สืบราชบัลลังก์ ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ (ช้างไม่ว่าตัวเล็กหรือใหญ่ ต่างก็กินแต่พืช) เมื่อมีช้างเกิดใหม่ย่อมหมายถึงความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของประเทศ



v พระกร (แขน) ทั้ง 4 หมายถึงพลังอำนาจที่จะช่วยเหลือมนุษย์
vบ่วงบาศก์และขอสับช้างที่ทรงถือ หมายถึงการแพร่หลายกระจายออกไป และความสง่างาม
v งาข้างที่หักที่ทรงถือไว้ในพระหัตถ์ขวา หมายความว่าพระองค์ทรงเป็นผู้คุ้มครองจากภัยอันตรายต่างๆ
v พระนาภี (ท้อง) ที่พลุ้ยใหญ่ หมายถึงความอดทน และยังแสดงว่าทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลต่างมีอยู่ในพระองค์
v พระบาท (เท้า) หมายถึงสิทธิและพุทธิ หรือการบรรลุในสิ่งที่ปรารถนาและความรู้
v ขนมโมทกะ (Modaka) เป็นสัญลักษณ์แทนชญาณ (jnana) หมายถึงความปิติสุข
พาหนะของพระองค์แทนความปรารถนาทางโลกที่จะต้องเอาชนะให้ได้
v สังข์ (Shankha) พระองค์ทรงฟังเสียงสังข์ที่เป่าบูชา ทำให้ทรงนึกถึงเสียงช้างที่ร้องอย่างมีความสุขในป่า จึงทรงกล่าวว่า มาเถิด พวกเจ้าจงมาหาข้าเพื่อบูชาข้าหมายถึง การอำนวยอวยชัยให้มีชื่อเสียง, เกียรติยศ
v อังกุษ (Ankusha)ขอสับช้าง  หมายถึง อำนวยอวยชัยทางด้านอายุ
v ขวาน  (Parashu) พระองค์ทรงรู้ว่าสาวกบางคนอาจต้องพบเจอกับอุปสรรคในอนาคต จึงใช้ขวานนี้ปกป้องสาวกของพระองค์อย่างนุ่มนวลจากเหล่าปีศาจที่เข้ามา หมายถึงการกำจัดอุปสรรค์นานาประการ
v บ่วงบาศก์  (Pasha)  จิตใจที่กรุณาของพระองค์เปรียบเหมือนบ่วงบาศก์ที่ดึงเอาเหล่าสาวกผู้บูชาพระองค์ที่เดินสะเปะสะปะไร้จุดหมายเข้ามาใกล้ๆ และคอยปกป้องเขาเหล่านั้น หมายถึง ใช้สำหรับมัดคนที่ประพฤติผิดศีลธรรมให้กลับกลายเป็นคนดี
v วัชระตรีศูล (Vajratrishula) - สายฟ้า  เช่นเดียวกับพี่ของพระองค์ (Murugan-พระขันธกุมาร) พระพิฆเนศทรงมีสายฟ้าเป็นอาวุธ หมายถึงจิตวิญญาณที่อยู่เหนือจิตใจ, จิตใจอยู่เหนือวัตถุ ควบคุมจักระ (Chakra) ทั้งสูงและต่ำ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ใน 3 โลก อำนวยอวยชัยทางด้านอำนาจ บารมี
v จักร - (Chakra) เป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ (แทนใจ) และดวงจันทร์ (แทนความรู้สึก) ซึ่งหมายถึง สติปัญญาของพระผู้เป็นเจ้า ใช้ป้องกันภัยอันตราย ความชั่วร้าย และสิ่งอัปมงคลต่างๆ
v โมทกะภัทร (Modakapatra)  หรือถ้วยขนมโมทกะ  พระพิฆเนศทรงมีฟันผุ แต่ขนมโมทกะคือสัญลักษณ์ของความหลุดพ้น โมกษ (Moksha) ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์รักที่สุด
v คฑา (Gada)  ภาษาอังกฤษใช้ว่า Mace จะแปลว่ากระบองก็ได้
คฑาแทนการตัดสินใจเด็ดขาดและความเป็นผู้นำของพระพิฆเนศ ทรงสอนสาวกให้อย่ายอมพ่ายแพ้หรือล้มเลิกกลางคันจนกว่าจะทำงานแล้วเสร็จ
v กริช - (Chhuri)  บางครั้งพระองค์ทรงถือกริชซึ่งมีความคมเหมือนใบมีดโกน หมายถึงความยากลำบาก ความขัดข้องต่างๆ ที่เหล่าสาวกจะต้องเผชิญในบางครั้ง อุปสรรคที่ต้องฟันฝ่า
v สร้อยปะคำ  (Rudraksha Mala)  พระพิฆเนศทรงนั่งอยู่ที่เบื้องบาทพระศิวะพร้อมกับถือ Japa Mala (ลูกปะคำ) ไว้ในมือ คอยรอคำสั่ง/โองการจากองค์พระบิดาที่เป็นจอมเทพเหนือเทพทั้งปวง ใช้สำหรับสวดอ้อนวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า และเจริญสมาธิ
v บุปผศร (Pushpashara)  หรือศรดอกไม้  พระองค์ทรงยิงศรที่หุ้มด้วยมวลดอกไม้จากคันธนูที่ทำจากอ้อย เพื่อนำทางเหล่าสาวกของพระองค์ไม่ให้เดินห่างไปจากเส้นทางธรรมของความอิ่มเองใจที่แท้จริง ศรนี้ใช้บอกทางเดินที่ถูกต้อง และอำนวยอวยชัยให้สมปรารถนาในความรัก เป็นธนูแห่งรัก พระกามเทพทรงถวายมี 3 ดอก คือ รัก เสน่หา และลุ่มหลงคลั่งไคล้
v อมฤตกุมภ์ (Amritakumbha)  หรือหม้อน้ำทิพย์   พระองค์ได้รับการชำระล้าง (อาบน้ำ) ทุกครั้งเมื่อเหล่าผู้บูชาไขว้แขนเคาะวิหารของพระองค์ น้ำอมฤต (Amrita) จะไหลจากสหัสราระจักรา (sahasrara) ไปยังมูลธารจักรา (muladhara)  ใช้ชะล้างสิ่งอัปมงคล ชั่วร้าย
v ปัทม (Padma)  หรือดอกบัว   พระองค์ต้องการให้เหล่าสาวกมีความมั่นใจ/เชื่อมั่นในตัวเอง โดยเรียนรู้จากดอกบัวที่เติบโตขึ้นอยู่กลางโคลนตมแต่ก็สามารถชูช่อดอกบานสูงพ้นน้ำได้ ความหมายทางนัย คล้ายกับดอกบัว 4 เหล่าของศาสนาพุทธ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น